วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)

เนื้อหาที่เรียน

การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
>>>เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการเเล่นเกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร

เกมสื่อความหมาย

เกมทายคำ

เกมพรายกระซิบ

เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เวลาใด อย่างไร กับใคร 

ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร                                                                              
- รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล
ผู้พูด >>>> คำพูด >>>> พูดฟัง
- รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล
            -รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์
          -รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
        -รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
สื่อ คือ ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

ประเภทของการสื่อสาร 3 ประเภท
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
-การสื่อสารทางเดียว 
-การสื่อสารสองทาง 

  2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
-การสื่อสารเชิงวัจนะ 
-การสื่อสารเชิงอวัจนะ 

  3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
-การสื่อสารส่วนบุคคล
-การสื่อสารระหว่างบุคคล 
-การสื่อสารมวลชน 

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง

7 c กับการสื่อสารที่ดี
Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
Clarity of audience  ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
1. ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
2. พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
3. พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
4. หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
5. ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
6. มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
7. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจที่ตรงกันมีความสำคุญในการดำรงชีวิติประจำวัน เช่น ทำให้เข้าใจตรงกัน ทำให้รู้ถึงเหตุกาณ์ต่างๆ
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ทำให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนการสอนของลูก เมื่อเข้าใจแล้วผู้ปกครองสามารถนำไปปฎิบัติกับลูกได้
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองควรเป็นรูปแบบที่ ครูสื่อสารแล้วความหมายออกมาได้เข้าใจ  ทั้งครูและผู้ปกครองเข้าใจตรงกันและนำไปปฏิบัติ เช่น รูปแบบของ ลาล์สเวล
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ  ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
•ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
•ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
•การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
•การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
•ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
• การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ 1. ความพร้อม 2. ความต้องการ 3. อารมณ์และการปรับตัว 4. การจูงใจ 5. การเสริมแรง 6. ทักศนคติและความสนใจ 7. ความถนัด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การสื่อสารผู้ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเราสื่อสารผิดพลาดไปอาจทำให้ความหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ ทำให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจความหมายไม่ตรงกับและอาจเกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน

การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)


*งดการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ประชุมงานราชการ*

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)


เนื้อหาที่เรียน

ความหมายการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง 

การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของการให้การศึกษาผู้ปกครอง
1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตุประสงค์การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน
รูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1. การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
2. การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย
ลักษณะฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
    1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล
    2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก   การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ 
   3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ 

แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
Linda  Biersteckerได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้

การวางแผน >> ดำเนินการประชุม >> ประเมินผลการประชุม >> การออกจดหมายข่าวผลการประชุม

บทบาทของผู้ปกครองในการร่วม กิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
บทบาทของผู้ใฝ่หาความรู้
- การเป็นผู้ริเริ่มผู้นำ
- การให้ข้อเท็จจริง
- การอธิบายความหมายเพิ่มเติม
- การถาม
- การแสดงความคิดเห็น
- การสรุป

บทบาทของสมาชิกกลุ่มที่ดี
- การสนับสนุนให้กำลังใจ
- การประนีประนอม
- การเป็นผู้ฟังที่ดี
- การเป็นผู้ถามที่ดี
- การสังเกตและการจดบันทึกข้อมูล

แนวปฏิบัติของสถานศึกษา
ในการจัดกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง สถานศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปกครองได้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ดังนั้นสถานศึกษาควรมีแนวปฏิบัติดังนี้
  1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
  2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
  3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เราได้ทราบถึงวัตุประสงค์และวิธีการรูปแบบต่างๆที่เราสามารถนำไปให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และรู้วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสม ในการทำกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันจันทร์ ที่ 8 สิงหาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)


เนื้อหาที่เรียน 

ความหมายของผู้ปกครอง 
Encyclopedia อธิบายไว้ว่า ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นพ่อหรือผู้ที่เป็นแม่ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
  1. ผู้ปกครองโดยสายเลือด
  2. ผู้ปกครองโดยสังคม
จินตนา  ปัณฑวงศ์  ได้อธิบายว่า ผู้ปกครอง หมายถึง พ่อ แม่ หรือบุคคลอื่น อาจจะเป็นญาติมิตรหรือ ผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
     
สรุป   
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย

ความสำคัญของผู้ปกครอง
            ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง


บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
กรมวิชาการ ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง ไว้ดังนี้
  1. เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
  2. ให้ความรักและความเข้าใจ
  3. เรียนรู้ร่วมกับเด็ก
  4. ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก
  5. ไม่ปิดกั้นความรู้สึกของลูก
  6. ฝึกให้ลูกรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  7. ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองด้านการอบรมเลี้ยงดู
ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คือ
  1.  เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
  2.  เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
  3.  เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา


บทบาทหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้
1.  ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
2.  ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
3.  สนทนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
4. ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำได้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิดๆ ไปใช้ 
5.  ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย
6.  ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
7.  สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
8.  คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็ก โดยไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
9.  ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้

บทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา


การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์กับการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันตลอชีวิตพ่อแม่ ผู้ปกครองถือเป็นบุคคลแรกที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กในแนวทางที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กดังนี้

       1.  ความอุทิศตน ในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
2.  มีจุดมุ่งหมายสูงส่งเพื่อลูก 
3.  ช่างสังเกตถี่ถ้วน
4.  ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก 
5.  ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย  
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
1.  ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2.  ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3.  ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4.  ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5.  ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6.  ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7.  ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8.  ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9.  เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้ ผู้ปกครองได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเป็นเช่นไรและสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน  100%
ประเมินอาจารย์ 100%