บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน 2559
(เวลา 08.30-11.30)
เนื้อหาที่เรียน
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ
รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
- ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน
โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
- มารดามีความพอใจในกิจกรรม
มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้
เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่
ผู้ปกครอง
ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
-
วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง
“การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง
“การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว
“บ้านล้อมรัก”
มีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น
เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
ซึ่งในปีนั้น
รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน
ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์
และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ
“รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่น
เดียวกัน
โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ
สร้างพื้นฐานการอ่าน
และสานสัมพันธ์ในครอบครัว
ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือ
ระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ
โดยการจัดทำถุงบุ๊ค
สตาร์ท (book
start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ
โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง
เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ ดังนั้น
จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ
งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล
การทำงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนและชุมชนจึงพบได้ในทุกโรงเรียน
ซึ่งถือเป็นงานปกติที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่
โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH
ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง
ดังนี้
-
สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก
และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
-
จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
-
ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก
จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 1930 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบ
ต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง
สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา
โดยได้เสนอให้มีการจัด
ทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา
และ
มัธยมศึกษาของทุกรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
-
ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
-
ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
-
เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home
Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่
คือ เฮดสตาร์ท
เป้าหมายคือ
เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก
และชี้ให้ผู้รับผิดชอบ
ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
โครงการ Brooklyne
Early Childhood
เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก ดำเนินการโดย Brooklyne Public School
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก
ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง
โดย
การจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย
ความพิการหรือข้อ
บกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด
นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนิน
งาน
โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาล ปรัชญาในการทำงานคือ
“พ่อแม่คือครูคนแรก
และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”
โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents
as First Teachers)
เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการ
ของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง
3 ขวบ
รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความ
สมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ทั้งสิ้น
โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความ
เข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า
“พ่อแม่นักการศึกษา”
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก”
ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี
พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์
ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำ
หนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือนับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก
โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือ
และการอ่านไปตลอดชีวิต
ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
“ถุงบุ๊คสตาร์ท”
ภายในถุงประกอบด้วย
-หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว 2 เล่ม
-หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
-ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
-แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
ชมวีดีโอเกี่ยวกับโครงการหนังสือเล่มแรกของประเทศไทย
โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart ที่ดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ได้แนวคิดมาจากโครงการต้นแบบของประเทศอังกฤษ (Bookstart UK) ซึ่งเริ่มต้นโครงการเมื่อปี พ.ศ.25385 และโครงการตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan) ซึ่งเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2543โดยให้ความสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6-9 เดือน ด้วยการมุ่งเน้นให้พ่อ แม่ทุกคนเห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง รวมทั้งการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือตั้งแต่วัยเยาว์ โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อ แม่ ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ นำสู่การสร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรัก การอ่าน โดยมีการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งองค์กรส่วนกลางและองค์กรท้องถิ่น
โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart ที่ดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ได้แนวคิดมาจากโครงการต้นแบบของประเทศอังกฤษ (Bookstart UK) ซึ่งเริ่มต้นโครงการเมื่อปี พ.ศ.25385 และโครงการตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan) ซึ่งเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2543โดยให้ความสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6-9 เดือน ด้วยการมุ่งเน้นให้พ่อ แม่ทุกคนเห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง รวมทั้งการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือตั้งแต่วัยเยาว์ โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อ แม่ ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ นำสู่การสร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรัก การอ่าน โดยมีการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งองค์กรส่วนกลางและองค์กรท้องถิ่น
คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ เป้าหมายคือการให้ผู้ปกครองเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก ทั้งเรื่อง พัฒนาการ การดูแล เพื่อให้มีคุณภาพในการดูแลเลี้ยงดูลูก
2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
ตอบ เป็นโครงการที่ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลลูก อาจจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในทุกๆด้าน เพือให้พ่อ แม่เข้าใจและนำไปใช้ได้ถูกต้อง
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็กมา5เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 1. พัฒนาการความแตกต่างรายบุคคลของลูก ให้เข้าใจถึงพัฒนาการเพื่อที่จะส่งเสริมและเฝ้าระวังแก้ไขได้
2. การอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้ เช่น เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ต้องการความรัก การดูแลเอาใจใส่
3. กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน อธิบายกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้ปกครองสามารถไปทำร่วมกับเด็กได้ที่บ้าน
4. การเสริมแรง จูงใจให้รางวัลและส้รางความมั่นใจให้แก่ลูก ให้ผู้ปกครองชื่นชมลูกเมื่อเขาทำดี
5. การใช้เวลาอยู่กับลูกอย่างมีคุณค่า
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เมื่อผู้ปครองเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม พัฒนาการของเด็กแล้ว เมื่ออยู่ที่บ้านผู้ปกครองสามารถนำกิจกรรมต่างๆส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้ด้วย และลูกก็จะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ ประสานงานกับผู้ปกครองสม่ำเสมอ เช่น การเขียนจดหมาย และให้ผู้ปกครองเซ็นรับทราบ หรือเทคโนโลยีที่ทันสมีย อาจมีการใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
กิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศต่างๆที่มีความหลากหลาย สามารถนำมาเป็นแนวทางให้เราในการจัดการศึกษาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ทั้ง วิธีการที่หลากหลาย กระบวนการ ขั้นตอนต่างๆไปใช้ได้ในอนาคต
การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น