บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559
(เวลา 08.30-11.30)
เนื้อหาที่เรียน
ด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
กลุ่มที่หนึ่ง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม
กลุ่มที่สอง การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์
กลุ่มที่สาม ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่สี่ การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนกุ๊กไก่
งานวิจัยเรื่อง
การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย
ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
การศึกษาระดับ
ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่ทำวิจัย
ปีการศึกษา
2554
ผู้วิจัย
คุณแสงวิไล
จารุวาที
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่
1 ภาษาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อกัน
เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด และทัศนคติต่างๆ
ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ในการสื่อสารกับผู้อื่น
ประเด็นที่
2 ภาษาของมนุษย์ต้องเกิดจากการเรียนรู้
จากการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
ประเด็นที่
3 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ
และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน
ประเด็นที่ 4 พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพสมบูรณ์
ประเด็นที่ 5 การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้
เจตคติ และทักษะในการพัฒนาตน
ประเด็นที่ 6 พ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนมาในวิธีที่แตกต่างกัน
จึงยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
และไม่สามารถส่งเสริมให้เด็ก ฝึกการออกเสียง อักษรตามที่โรงเรียนสอนได้
ทำให้เด็กเกิดความสับสน
ประเด็นที่
7 ผู้วิจัยต้องการพัฒนาโปรแกรมการการสอนภาษาแบบโฟนิกส์แก่ผู้ปกครองชาวไทย
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความ เข้าใจ
และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทย
เรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน
ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร (Letter Sounds) ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ(Blending Skills) และทักษะการแยกเสียงในคำ(Segmenting Skills)
2.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ
เด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้
โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้
ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ
เรียนการสอนของทางโรงเรียน
2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ
ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน
โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อม ของโรงเรียนนั้นๆ
3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาททางการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน
ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
คือ
ผู้ปกครองชาวไทยของนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น Year 1 (เทียบเท่าชั้นอนุบาล 3
ในระบบการศึกษาไทย) ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
จังหวัดนนทบุรี
ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง ได้จำนวน 11 คน คือ
1.1 มีลูกศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
1.2 มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่
1.3 สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.เนื้อหาของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน
ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
3.ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
9 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 2 การประชุมให้ความรู้ผู้ปกครองไทยที่เข้าร่วมการวิจัย
เรื่องการ สอนภาษาแบบโฟนิกส์
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการใช้กิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 4 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ ด้วยการฟังเสียงอักษร
การผสมเสียง การแยกแยะเสียง และการถอดรหัสเสียงอักษรในคำ
ขั้นที่ 5 และประเมิน ผลการปฏิบัติตาม โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทาง โฟนิกส์โดย
ผู้ปกครองไทยโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง)
4.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
4.1
โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยโดยการประชุมปฏิบัติการเรื่องการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาแบบโฟนิกส์ด้วยกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะ
4.2
แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับเด็กปฐมวัย
4.3
แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น
/ตัวจัดกระทำ
การสอนภาษาแบบโฟนิกส์
โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย
ตัวแปรตาม
การส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง หมายถึง
การให้ความรู้ในเรื่องเสียงอักษร
ภาษาอังกฤษและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะการออกเสียงอักษร
การผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
2.ผู้ปกครองไทย หมายถึง บิดา มารดา
หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเด็กในครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูแทนบิดามารดา
3.การส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หมายถึง
การสนับสนุนและเอาใจใส่ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาความสามารถในการแปลทางอักษรภาษาอังกฤษและอ่านออกเสียง
ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
4.เด็กปฐมวัย หมายถึง
เด็กนักเรียนทั้งชายและหญิงมีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้น Year 1 ( เทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย)
ในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
5.การสอนภาษาแบบโฟนิกส์ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อฝึกและ
5.การสอนภาษาแบบโฟนิกส์ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อฝึกและ
พัฒนาการออกเสียงอักษรคำในภาษาอังกฤษ
6.โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี หมายถึง โรงเรียนระดับอนุบาลและ ประถมศึกษาที่6 ที่มีนักเรียนหลากหลายเชื้อชาติ(อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ไทย) การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณถนนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนประมาณ 120 คน
6.โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี หมายถึง โรงเรียนระดับอนุบาลและ ประถมศึกษาที่6 ที่มีนักเรียนหลากหลายเชื้อชาติ(อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ไทย) การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณถนนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนประมาณ 120 คน
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร
เด็กปฐมวัยอายุ 5–6 ปี ที่กำลังศึกษา
อยู่ในระดับชั้น Year
1(ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล
3 ในระบบการศึกษาไทย) โรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์ สามัคคีปีการศึกษา
2553จำนวนทั้งสิ้น 14 คน
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
จำนวน 11 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน
ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
2.แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปตารางสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ
และ นำเสนอในรูปการบรรยายแบบความเรียงสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
สรุปผลการวิจัย
วัตถุประสงค์ที่
1
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบภาษาโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร
ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
วัตถุประสงค์ที่
2
เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทยโรงเรียนนานาชาติ
เซนต์แอนดรูส์สามัคคี ผลจากการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการทดสอบก่อน
และหลังการทดลอง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม
ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ ดำเนินการตามทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโปรแกรมอย่างครบถ้วน
เมื่อดำเนินการครบแล้วได้หาคำศัพท์นอกเหนือจากที่กำหนดมาให้เด็กฝึกฝนเพิ่มเติม
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการนำเสนองานวิจัย ทำให้เรามีแนวทางในการทำกิจกรรมการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง ให้เราสามารถนำวิจัยต่างๆไปเป็นแนวคิดได้ในต่อไป ซึ่งมีหลากหลายวิธี เราสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์มากที่สุด
การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น