วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)


*งดการเรียนการสอน เนื่องจาก หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช*

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)

นื้อหาที่เรียน
แบบสอบถามการให้ความรู้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย 

ณ ศูนย์เด็กเล็กรุ่งมณีพัฒนา


แบบสอบ

 


หัวข้อในการสอบถาม มี 20 เรื่อง ดังนี้

พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก
การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
เกมการศึกษาสำหรับเด็ก
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็ก
การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน
การประดิษฐ์ของเล่นจากของเหลือใช้
การประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การประดิษฐ์สื่อการเรียนคณิตศาสตร์
การประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กพิเศษ
การออกกำลังกายสำหรับเด็ก
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิธีการปลูกฝังคุณธรรม8ประการสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
วิธีการเลี้ยงดูเด็กพิเศษ


ภาพบรรยากาศการสอบถาม

 

 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การลงพื้นที่สอบถามการให้ความรู้ผู้ปกครองมีประโยชน์เพราะเราจะได้รู้ว่าจริงๆแล้วผู้ปกครองอยากทราบเรื่องอะไรเกี่ยวกับลูก เพื่อที่เราจะได้ให้ความรู้ได้ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ปกครองมากที่สุด

การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)

นื้อหาที่เรียน 
การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


ส่วนประกอบการเขียนโครงการ มีดังนี้

1. ชื่อโครงการ การตั้งชื่อโครงการตองมีความชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง เปนที่เขาใจได โดยงายสําหรับผูนําโครงการไปใชหรือผูมีสวนเกี่ยวของกับโครงการชื่อโครงการจะบอกใหทราบวา จะทําสิ่งใดบาง โครงการที่จัดทําขึ้นนั้นทําเพื่ออะไรชื่อโครงการโดยทั่วไปควรจะตองแสดงลักษณะ งานที่ตองปฏิบัติลักษณะเฉพาะของโครงการ และจุดมุงหมายของโครงการ 

2. วัตถุประสงคและเปาหมาย โครงการทุกโครงการจําเปนตองมีวัตถุประสงคและเปาหมายเปนเครื่องชี้แนวทางในการ ดําเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงคจะเปนขอความที่แสดงถึงความตองการที่จะกระทําสิ่ง ตางๆ ภายในโครงการใหปรากฏผลเปนรูปธรรม ซึ่งขอความที่ใชเขียนวัตถุประสงคจะตองชัดเจน ไมคลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลไดโครงการแตละโครงการสามารถมีวัตถุประสงคได มากกวา 1 ขอ 

3. เนื้อหา / หลักสูตร  เป็นเนื้อหาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม ความรู้ต่างๆที่จะให้ผู้ปกครองได้รับ อาจเป็นความรู้ที่สามารถอ้างอิงได้ 

4. เป้าหมาย มี 2 แบบ 

-เชิงปริมาณ เช่น ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ 3-5 ปี โรงเรียนวัดพิกุลเงิน จำนวน 20 คน
-เชิงคุณภาพ เช่น ผู้ปกครองร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ สามารถเล่านิทานได้ 

5. วัน เวลาและสถานที่จัดสัมมนา  ระยะเวลาในการดําเนินงานโครงการ เปนการระบุระยะเวลาตั้งแตเริ่มตนโครงการ จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการวาใชเวลาทั้งหมดเทาใด โดยแสดงใหเห็นจุดเริ่มตนและสิ้นสุด ของโครงการโดยระบุวันเดือน ปที่เริ่มทําและสิ้นสุด ถาหากเปนโครงการระยะยาว และมีหลาย ระยะก็ตองแสดงชวงเวลาในแตละระยะของโครงการนั้นดวยเพื่อใชเปนรายละเอียดประกอบการ พิจารณาอนุมัติโครงการ
                     เช่น วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โรงเรียนวัดพิกุลเงิน

6. รูปแบบการจัดโครงการ  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย เกมส์ 

7. แผนการดำเนินงาน   เปนขั้นตอนตามลําดับกอนหลังเพื่อใช ปฏิบัติใหบรรลุตามวัตถุประสงคของโครงการ วิธีการดําเนินการจึงนําวัตถุประสงคมาจําแนกแจก แจงเปนกิจกรรมยอยหลายกิจกรรม โดยจะแสดงใหเห็นอยางชัดเจนตั้งแตตนจนจบกระบวนการ วามีกิจกรรมใดที่จะตองทําเพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคซึ่งกิจกรรมตางๆ เหลานี้จะนําไปอธิบายโดย ละเอียดในสวนของแผนการปฏิบัติงานหรือปฏิทินปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง 
แบ่งเป็น 3 หัวข้อย่อย 
 การเตรียมงาม (P)
 การดำเนินงาน (D)
 การนิเทศติดตามผล  (C)
 การสรุปและประเมินผล  (A)

8. งบประมาณ  แบ่งออกเป็น  ค่าตอบแทน / ค่าใช้สอย / ค่าวัสดุอุปกรณ์

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ   ผลหวังว่าที่จะเกิดขึ้นหลังจากทำโครงการ ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

10. การติดตามและประเมินโครงการ ในสวนนี้จะแสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกํากับ และการประเมินผลโครงการ เพื่อใหโครงการบรรลุถึงวัตถุประสงคที่ไดกําหนดไวอยางมีประสิทธิภาพ ผูเสนอโครงการควรระบุ วิธีการที่ใชในการควบคุม และประเมินผลโครงการไวใหชัดเจน ทั้งนี้อาจจะตองระบุบุคคลหรือ หนวยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโครงการ พรอมทั้งบอกรูปแบบการประเมินผลโครงการ 

11. ผู้รับผิดชอบโครงการ   

ตัวอย่างโครงการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่ครูต้องจัดขึ้น การเขียนโครงการครั้งนี้จึงได้ความรู้แนวทางที่จะสามารถนำไปเขียนโครงการได้ถูกต้อง รวมทั้งการคิดจัดกิจกรรมในโครงการที่ต้องใช้เทคนิคต่างๆ


การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559

 (เวลา 08.30-11.30)

นื้อหาที่เรียน 
นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง


กลุ่มที่หนึ่ง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม


กลุ่มที่สอง การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์

กลุ่มที่สาม ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย



กลุ่มที่สี่ การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนกุ๊กไก่  



งานวิจัยเรื่อง   การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย
ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย
ด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์   โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี

การศึกษาระดับ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554

ผู้วิจัย คุณแสงวิไล จารุวาที
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1  ภาษาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อกัน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด และทัศนคติต่างๆ ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ในการสื่อสารกับผู้อื่น
ประเด็นที่ 2  ภาษาของมนุษย์ต้องเกิดจากการเรียนรู้ จากการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
ประเด็นที่ 3  ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน
ประเด็นที่  4  พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพสมบูรณ์
ประเด็นที่  5  การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาตน
ประเด็นที่  6 พ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนมาในวิธีที่แตกต่างกัน จึงยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และไม่สามารถส่งเสริมให้เด็ก ฝึกการออกเสียง อักษรตามที่โรงเรียนสอนได้ ทำให้เด็กเกิดความสับสน 
ประเด็นที่ 7 ผู้วิจัยต้องการพัฒนาโปรแกรมการการสอนภาษาแบบโฟนิกส์แก่ผู้ปกครองชาวไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความ เข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน 

              วัตถุประสงค์ของการวิจัย

              1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทย
เรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร (Letter Sounds) ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ(Blending Skills) และทักษะการแยกเสียงในคำ(Segmenting Skills)
2.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ เด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้ โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ เรียนการสอนของทางโรงเรียน
2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อม ของโรงเรียนนั้นๆ
3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาททางการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองชาวไทยของนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น Year 1 (เทียบเท่าชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี จังหวัดนนทบุรี  ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง ได้จำนวน 11 คน คือ
1.1 มีลูกศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
1.2 มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่
       1.3 สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.เนื้อหาของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
3.ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 9 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น  5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 2 การประชุมให้ความรู้ผู้ปกครองไทยที่เข้าร่วมการวิจัย เรื่องการ สอนภาษาแบบโฟนิกส์
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการใช้กิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 4 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ ด้วยการฟังเสียงอักษร การผสมเสียง การแยกแยะเสียง และการถอดรหัสเสียงอักษรในคำ
ขั้นที่ 5 และประเมิน ผลการปฏิบัติตาม โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทาง  โฟนิกส์โดย ผู้ปกครองไทยโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง)
4.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
4.1 โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยโดยการประชุมปฏิบัติการเรื่องการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาแบบโฟนิกส์ด้วยกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะ
4.2 แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ สำหรับเด็กปฐมวัย
4.3 แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น /ตัวจัดกระทำ
       การสอนภาษาแบบโฟนิกส์
       โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย
ตัวแปรตาม
       การส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องเสียงอักษร ภาษาอังกฤษและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะการออกเสียงอักษร การผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ 
2.ผู้ปกครองไทย หมายถึง บิดา มารดา หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเด็กในครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูแทนบิดามารดา 
3.การส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หมายถึง การสนับสนุนและเอาใจใส่ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาความสามารถในการแปลทางอักษรภาษาอังกฤษและอ่านออกเสียง ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
 4.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนทั้งชายและหญิงมีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้น Year 1 ( เทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) ในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
5.การสอนภาษาแบบโฟนิกส์ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อฝึกและ 
               พัฒนาการออกเสียงอักษรคำในภาษาอังกฤษ
6.โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี หมายถึง โรงเรียนระดับอนุบาลและ ประถมศึกษาที่6 ที่มีนักเรียนหลากหลายเชื้อชาติ(อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ไทย) การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณถนนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนประมาณ 120 คน

               วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร 
       เด็กปฐมวัยอายุ 5–6 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้น Year 1(ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) โรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์ สามัคคีปีการศึกษา 2553จำนวนทั้งสิ้น 14 คน
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 11 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
 2.แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปตารางสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และ นำเสนอในรูปการบรรยายแบบความเรียงสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
สรุปผลการวิจัย
วัตถุประสงค์ที่ 1
  เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบภาษาโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
วัตถุประสงค์ที่ 2
  เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทยโรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์สามัคคี ผลจากการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ ดำเนินการตามทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโปรแกรมอย่างครบถ้วน เมื่อดำเนินการครบแล้วได้หาคำศัพท์นอกเหนือจากที่กำหนดมาให้เด็กฝึกฝนเพิ่มเติม  

ออกแบบข่าวสารประจำสัปดาห์ หน่วย ผีเสื้อ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการนำเสนองานวิจัย ทำให้เรามีแนวทางในการทำกิจกรรมการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง ให้เราสามารถนำวิจัยต่างๆไปเป็นแนวคิดได้ในต่อไป ซึ่งมีหลากหลายวิธี เราสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์มากที่สุด

การประเมิน
ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินอาจารย์ 100%